Modern Finance Online
SEE OTHER BRANDS

Your top news on finance and banking

6 เดือนทรัมป์นั่งประธานาธิบดี ออกคำสั่งฝ่ายบริหารชุดใหญเขย่าโลก่ สะเทือนตลาดและสมดุล Fed

แผนที่โลกเชิงสัญลักษณ์ซ้อนทับบนพื้นธงชาติสหรัฐฯ พร้อมเส้นเชื่อมโยงและศูนย์กลางการเงินสำคัญที่ส่องสว่าง – EBC

แรงสั่นสะเทือนทางภูมิรัฐศาสตร์เขย่าตลาด EBC Financial Group ชี้ผลกระทบทั่วโลกจาก 6 เดือนแรกของทรัมป์ ภายใต้นโยบายคำสั่งฝ่ายบริหารและแรงกดดันด้านการเงิน

EBC Financial Group วิเคราะห์การตัดสินใจสำคัญของประธานาธิบดี ปฏิกิริยาของตลาด และแนวโน้มในอนาคต ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมือง

DC, UNITED STATES, July 14, 2025 /EINPresswire.com/ -- จากกระแส "Trump Trade" ที่เต็มไปด้วยความหวังช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สู่ช่วงหกเดือนแรกของการดำรงตำแหน่งของโดนัลด์ ทรัมป์ โลกการเงินได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความปั่นป่วนทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ข้อเสนอการเก็บภาษีนำเข้าอย่างเข้มงวด การปฏิรูปนโยบายการคลังครั้งใหญ่ ไปจนถึงท่าทีที่เปิดรับสกุลเงินดิจิทัล การกลับมาของรัฐบาลทรัมป์ได้สร้างความผันผวน ส่งสัญญาณเศรษฐกิจที่หลากหลาย และกระตุ้นภาวะความไม่แน่นอนที่ฝังลึกในระบบการเงินโลก

ตามรายงานของ EBC Financial Group (EBC) ช่วงหกเดือนแรกภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ไม่ได้สะท้อนเพียงความไม่แน่นอนด้านนโยบาย แต่ยังเผยให้เห็นถึงความสมดุลที่เปราะบางซึ่งตลาดโลกจำเป็นต้องรักษาไว้ระหว่างความคาดหวังเชิงบวกกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น สำหรับนักลงทุน ภาคธุรกิจ และรัฐบาลทั่วโลก กระแสตอบรับที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงและหลีกเลี่ยงไม่ได้

แรงสั่นสะเทือนทางนโยบาย: ภาษี สงครามการค้า และความผันผวนในตลาดโลก

นโยบายเศรษฐกิจล่าสุดของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ต่อทิศทางของตลาดโลก โดยเฉพาะการกลับมาใช้มาตรการทางการค้าแบบปกป้องตนเอง ซึ่งชี้ให้เห็นถึงจุดยืนใหม่ที่เข้มข้นยิ่งขึ้นของรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจากช่วงต้นปีมีการชะลอการจัดเก็บภาษี ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวชั่วคราว ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศมาตรการภาษีใหม่ภายใต้ชื่อ “วันปลดปล่อย” ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่ความผันผวนในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ EBC Financial Group (UK) Ltd. ให้ความเห็นว่า “ตลาดกำลังตอบสนองต่อการตัดสินใจของผู้นำประเทศรายเดียวที่มีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายภาษี ซึ่งนำมาซึ่งความไม่แน่นอนอย่างมาก ความกังวลของนักลงทุนไม่ได้จำกัดเพียงรายละเอียดของนโยบายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแรงจูงใจทางการเมืองที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ” บาร์เร็ตต์กล่าวเพิ่มเติมว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทาน แต่เป็นการปรับโครงสร้างกระแสการค้าระดับโลกครั้งใหญ่”

แม้ตลาดหุ้นจะร่วงลงในช่วงแรก แต่ต่อมาฟื้นตัวบางส่วนภายหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศชะลอการบังคับใช้มาตรการออกไป 90 วัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ระยะเวลาผ่อนผันได้สิ้นสุดลง และทำเนียบขาวยืนยันว่ามาตรการภาษีชุดใหม่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม โดยไม่มีการขยายเวลาเพิ่มเติม กรอบนโยบายฉบับใหม่ประกอบด้วยการจัดเก็บภาษีพื้นฐาน 10% กับประเทศส่วนใหญ่ ควบคู่กับการกำหนดอัตราภาษีเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ การเก็บภาษี 25–40% สำหรับสินค้านำเข้าจากแอฟริกาใต้ มาเลเซีย และไทย การเก็บภาษี 50% สำหรับการนำเข้าทองแดง และการเก็บภาษีเพิ่มอีก 40% สำหรับสินค้าที่มีการเปลี่ยนถิ่นขนส่งจากเวียดนาม แม้สหรัฐฯ จะสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้ากับสหราชอาณาจักรและเวียดนามได้แล้ว แต่การเจรจากับสหภาพยุโรป แคนาดา และจีน ยังคงอยู่ในภาวะไม่แน่นอน

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่หลากหลายสะท้อนภาพรวมที่ไม่สมดุล

แม้จะมีความปั่นป่วนและความท้าทาย แต่ตัวเลขเศรษฐกิจหลักยังคงแสดงสัญญาณความมั่นคงในระดับปานกลาง โดยอัตราเงินเฟ้อที่เคยพุ่งขึ้นสูงถึง 3% ในเดือนมกราคม ได้ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 2.4% ขณะที่การจ้างงานมีความผันผวน โดยเฉพาะในภาคการผลิตและภาคราชการ ซึ่งในเดือนพฤษภาคม รัฐบาลกลางได้ลดตำแหน่งงานไปกว่า 22,000 ตำแหน่งภายใต้โครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพ” ของประธานาธิบดีทรัมป์ อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน รายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) กลับสร้างความประหลาดใจให้ตลาด ด้วยการเพิ่มขึ้นของตำแหน่งงานใหม่ถึง 147,000 ตำแหน่ง ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 110,000 ตำแหน่ง พร้อมกับอัตราว่างงานที่ลดลงจาก 4.2% เหลือ 4.1%

ด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัวในอัตราปีละ 0.5% ในไตรมาสแรกของปี ซึ่งถือเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 3 ปี นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่า ปัจจัยชั่วคราวจากการนำเข้าและการสะสมสินค้าคงคลังก่อนการบังคับใช้มาตรการภาษีเป็นสาเหตุหลัก อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ผู้บริโภคที่อ่อนแรงและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังซบเซา ยังสะท้อนความท้าทายเชิงโครงสร้างในระยะยาว

เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ EBC Financial Group (UK) Ltd. ให้ความเห็นว่า “แม้ตัวเลขเศรษฐกิจภายนอกจะดูมีเสถียรภาพ แต่เบื้องหลังยังมีปัจจัยที่น่ากังวล อาทิ ยอดค้าปลีกที่ชะลอตัว กิจกรรมการก่อสร้างที่ล่าช้า และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด คำถามสำคัญในขณะนี้ คือ นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของภาวะชะลอตัวตามวัฏจักร หรือสัญญาณของปัญหาเชิงโครงสร้างที่รุนแรงกว่าที่คาดไว้กันแน่”

ชัยชนะทางกฎหมาย การขยายตัวทางการคลัง และการขยายเพดานหนี้

นอกเหนือจากคำสั่งฝ่ายบริหารร ประธานาธิบดีทรัมป์ยังประสบความสำเร็จในการผลักดันกฎหมายสำคัญ “Big Beautiful Bill” ซึ่งมีเนื้อหากว่า 900 หน้า และผ่านความเห็นชอบในช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ประกอบด้วยการขยายผลถาวรของมาตรการลดภาษีที่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2017 การมอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีเฉพาะกลุ่ม รวมถึงการปรับลดงบประมาณโครงการเมดิแคร์ พร้อมกันนี้ยังมีการเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมและความมั่นคงตามแนวชายแดนอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ กฎหมายยังได้กำหนดการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 5 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อเปิดทางให้กระทรวงการคลังสามารถออกตราสารหนี้เพิ่มเติมและป้องกันการปิดทำการของรัฐบาลในระยะสั้น

การตอบรับจากตลาดต่อกฎหมายฉบับนี้เป็นไปในทิศทางที่ผสมผสาน นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในประเด็นนโยบายภาษีและลดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การคลังระยะสั้น แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดคำถามถึงทิศทางระยะยาวของการกู้ยืมเงินรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเพิ่มงบประมาณทั้งในด้านการทหารและโครงสร้างพื้นฐานพร้อมกัน

“สหรัฐฯ ได้ซื้อเวลาให้กับตัวเอง แต่ต้องแลกมาด้วยแรงกดดันทางการคลังที่เพิ่มขึ้น” เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าว “ตลาดกำลังจับตาว่านโยบายเหล่านี้จะสามารถขับเคลื่อนผลิตภาพและการเติบโตที่แท้จริงได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงการถ่วงเวลาปัญหาในระยะยาว”

ค่าเงินอ่อนค่าและและความท้าทายของ Fed ท่ามกลางแรงกดดันทางเศรษฐกิจและการเมือง

ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนความกังวลของนักลงทุนต่อผลกระทบของภาษีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะ และการคาดการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในผู้นำของ Fed ประธานาธิบดีทรัมป์ได้แสดงจุดยืนชัดเจนในการเรียกร้องให้ Fed ลดอัตราดอกเบี้ย แต่ประธานเจอโรม พาวเวลล์ ยังคงยึดมั่นในจุดยืนเดิม โดยเน้นย้ำถึงความเสี่ยงของเงินเฟ้อเป็นเหตุผลหลัก

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งเคยพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเกือบ 4.8% เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้ปรับลดลงและทรงตัวในช่วง 4.0–4.6% ก่อนจะขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับใกล้ 4.4% ตามข้อมูลล่าสุด อย่างไรก็ตาม แนวทางนโยบายของ Fed ยังเผชิญแรงกดดันจากหลายปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะความพยายามของประธานาธิบดีทรัมป์ในการผลักดันให้ลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสร้างความกังวลให้ธนาคารกลางทั่วโลก เนื่องจากมาตรการภาษีที่บังคับใช้อาจเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นในระยะยาว

“แม้เงินเฟ้อในปัจจุบันจะชะลอตัวลง แต่ผลกระทบเต็มรูปแบบจากมาตรการภาษียังไม่ปรากฏอย่างชัดเจนในระบบเศรษฐกิจ” เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าว “หากต้นทุนยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและกำไรของภาคธุรกิจถูกบีบอัด เราอาจเผชิญกับความท้าทายที่ธนาคารกลางต้องเผชิญทั้งแรงกดดันทางการเมืองที่ต้องการลดดอกเบี้ย และแรงกดดันทางเศรษฐกิจที่บังคับให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ยากจะรักษาสมดุลได้”

สกุลเงินดิจิทัลพุ่งแรง แต่ไม่ไร้ซึ้งข้อโต้แย้ง

หนึ่งในความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองของรัฐบาลทรัมป์ในสมัยที่สอง คือการเปิดรับและส่งเสริมสกุลเงินดิจิทัลอย่างชัดเจน โดยในเดือนมีนาคม ทำเนียบขาวได้ประกาศจัดตั้ง “คลังสำรองบิตคอยน์เชิงกลยุทธ์” พร้อมทั้งเปิดตัวเหรียญมีมอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อ $TRUMP ซึ่งได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วในตลาด และสร้างมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็จุดประเด็นถกเถียงในแง่จริยธรรมตามมา

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (SEC) ได้ตอบสนองด้วยการจัดตั้ง “หน่วยงานเฉพาะกิจด้านสกุลเงินดิจิทัล” เพื่อกำหนดแนวทางการขึ้นทะเบียนและวางกรอบกติกาสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างชัดเจน ตลอดจนสนับสนุนโครงการ Web3 พร้อมแต่งตั้งบุคคลที่สนับสนุนสกุลเงินดิจิทัลเข้าสู่ภาครัฐในยุคทรัมป์ ทำให้นักวิเคราะห์จำนวนมากมองว่า สหรัฐฯ อาจผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้านสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นในปีหน้า

อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์บางฝ่ายมองว่า การที่ประธานาธิบดีในตำแหน่งโปรโมตเหรียญมีมที่เชื่อมโยงกับตนเอง อาจสร้างความกังวลเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนและส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสกุลเงินดิจิทัลในวงกว้าง “แม้สกุลเงินดิจิทัลจะมีศักยภาพสูง แต่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมนี้ขึ้นอยู่กับความชัดเจนของกฎระเบียบและความเป็นกลางทางการเมือง” เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าว “หากอุตสาหกรรมนี้ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญที่สุดคือความชัดเจนด้านกฎระเบียบ”

แรงสั่นสะเทือนทั่วโลก และผลกระทบต่อสหราชอาณาจักร

นโยบายของทรัมป์ส่งผลกระทบต่อประเทศนอกพรมแดนสหรัฐฯ อย่างชัดเจน ในสหราชอาณาจักร ภาคธุรกิจกำลังจับตาพัฒนาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด การลดลงของปริมาณการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจเปิดโอกาสใหม่ให้กับผู้ส่งออกสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่สินค้าสหรัฐฯ หรือจีนมีความสามารถในการแข่งขันลดลงจากภาษีที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป อาจสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในยุโรป ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตในสหราชอาณาจักรกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงในกฎระเบียบศุลกากร และระบบการจำแนกประเภทสินค้า ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดเพิ่มสูง กระบวนการซับซ้อนขึ้น และระยะเวลาในการนำเข้า-ส่งออกยืดเยื้อกว่าเดิม สำหรับบริษัทสหราชอาณาจักรที่เคยมุ่งเน้นตลาดสหภาพยุโรปเป็นหลัก อาจเป็นช่วงเวลาที่ควรพิจารณาขยายตลาดไปยังสหรัฐฯ หรือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแทน

“แนวทางปกป้องทางการค้าย่อมมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และผู้ที่ได้รับผลกระทบ” เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าว “ความท้าทายที่แท้จริงอยู่ที่การประเมินความเสี่ยงอย่างรอบด้าน ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด และปรับตัวให้เท่าทันต่อพลวัตของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ”

ตลาดการเงินยังคงไม่แน่นอน และอนาคตยังคงไม่ชัดเจนจน

เมื่อเข้าสู่ครึ่งหลังของปี นักลงทุนทั่วโลกกำลังประเมินผลกระทบจากการดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งยังคงส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจและตลาดการเงินอย่างต่อเนื่อง Fed คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของ GDP ในปี 2025 จะชะลอตัวลงเหลือเพียง 1.4% จาก 2.4% ในปี 2024 แม้อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานจะยังอยู่ในเกณฑ์ที่บริหารจัดการได้ แต่ปัจจัยรวมด้านนโยบาย เช่น การปรับโครงสร้างภาษี การลดภาษี การเปิดรับสกุลเงินดิจิทัล รวมถึงการขยายงบประมาณภาครัฐ ยังคงสร้างความไม่แน่นอนให้กับตลาดในวงกว้าง

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความผันผวน นักลงทุนบางส่วนยังคงมีมุมมองเชิงบวกอย่างระมัดระวัง โดยอ้างอิงถึงผลประกอบการภาคธุรกิจที่ยังแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานที่มีเสถียรภาพ และโอกาสของการปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่อาจเกิดขึ้น

เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ควรประมาท นักลงทุนจำเป็นต้องดำเนินกลยุทธ์ด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ตลาดการเงินถูกขับเคลื่อนด้วยนโยบาย ซึ่งคำสั่งฝ่ายบริหารเพียงฉบับเดียว อาจเปลี่ยนแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกได้ในชั่วข้ามคืน”

### 

เกี่ยวกับ EBC Financial Group

ก่อตั้งขึ้นในกรุงลอนดอน EBC Financial Group (EBC) เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านโบรกเกอร์การเงินและการบริหารสินทรัพย์ ด้วยหน่วยงานที่ได้รับการควบคุมและดำเนินงานในหลายเขตอำนาจทางการเงินสำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย หมู่เกาะเคย์แมน มอริเชียส และอื่น ๆ EBC เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อย นักลงทุนมืออาชีพ และสถาบันเข้าถึงตลาดการเงินทั่วโลกและโอกาสการเทรดหลากหลาย เช่น สกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ และสัญญา CFDs

EBC ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนกว่า 100 ประเทศ และได้รับรางวัลระดับโลกหลายครั้ง รวมถึงการยกย่องจาก World Finance อย่างต่อเนื่อง ด้วยการยืนหนึ่งในฐานะโบรกเกอร์ชั้นนำระดับโลก พร้อมรางวัล Best Trading Platform และ Most Trusted Broker ด้วยความเข้มแข็งด้านการกำกับดูแลและความโปร่งใส EBC ยังคงรักษามาตรฐานสูงสุดในตลาดการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นการให้บริการที่ปลอดภัย นวัตกรรม และใส่ใจลูกค้าเป็นหลัก

บริษัทในเครือของ EBC ได้รับใบอนุญาตและอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานกำกับดูแลในแต่ละเขตอำนาจ ได้แก่ Financial Conduct Authority (FCA) ของสหราชอาณาจักร Cayman Islands Monetary Authority (CIMA) ของหมู่เกาะเคย์แมน Australian Securities and Investments Commission (ASIC) ของออสเตรเลีย และ Financial Services Commission (FSC) ของมอริเชียส

ทีมงานของ EBC ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการเงินที่มีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี ผ่านรอบวิกฤตเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ Plaza Accord, วิกฤตฟรังก์สวิสปี 2015 และความผันผวนในตลาดช่วงโควิด-19 ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ ความเคารพ และความมั่นคงของสินทรัพย์ลูกค้า EBC จึงดูแลความสัมพันธ์กับนักลงทุนอย่างจริงจังและมืออาชีพ

EBC ยังเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของสโมสรฟุตบอล FC Barcelona ในด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และขยายความร่วมมือกับองค์กรระดับโลกเพื่อเสริมสร้างชุมชน เช่น โครงการ United to Beat Malaria ของ UN Foundation, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และพันธมิตรหลากหลายในการสนับสนุนด้านสุขภาพ เศรษฐศาสตร์ การศึกษา และความยั่งยืน

https://www.ebc.com/  

Michelle Siow
EBC Financial Group
+60 163376040
michelle.siow@ebc.com
Visit us on social media:
LinkedIn
Instagram
Facebook
YouTube
X
Other

Legal Disclaimer:

EIN Presswire provides this news content "as is" without warranty of any kind. We do not accept any responsibility or liability for the accuracy, content, images, videos, licenses, completeness, legality, or reliability of the information contained in this article. If you have any complaints or copyright issues related to this article, kindly contact the author above.

Share us

on your social networks:
AGPs

Get the latest news on this topic.

SIGN UP FOR FREE TODAY

No Thanks

By signing to this email alert, you
agree to our Terms of Service